Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • นักวิชาการเตือนใช้นโยบาย Digital Wallet เสี่ยงก่อหนี้สูง

นักวิชาการเตือนใช้นโยบาย Digital Wallet เสี่ยงก่อหนี้สูง

รองศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลใหม่ต้องเผชิญสถานการณ์ในการเร่งรัดจัดทำงบประมาณปี 2567 เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลมีความล่าช้ามามากกว่า 3 เดือนแล้ว ทำให้การเบิกจ่ายจะล่าช้าไปประมาณ 5-6 เดือน ส่งผลลบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงต้นปีงบประมาณ 2567 หรือช่วงปลายปี 2566 ต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2567 เศรษฐกิจอาจไม่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดและอาจไม่สามารถเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย

หากรัฐบาลใหม่ยังคงเดินหน้าแจกเงิน Digital Wallet 1 หมื่นบาทต่อคน ใช้เงินสูงกว่า 500,000 ล้านบาท มีความจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มอย่างแน่นอน เป็นการก่อหนี้สาธารณะเพิ่ม หรือมิฉะนั้นก็ต้องเก็บภาษีเพิ่ม ซึ่งรัฐบาลต้องกู้เงินเพิ่มอีกมากกว่า 500,000 ล้านบาท งบประมาณจะขาดดุลมากกว่า 1.093 ล้านล้านบาท แม้รัฐบาลใหม่จะกู้เงินเพื่อทำงบขาดดุลเพิ่มอาจยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังอยู่แต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงฐานะทางการคลัง

สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ณ เดือนพฤษภาคม 2566 อยู่ที่ 61.63% ยังคงมีพื้นที่ทางการคลังคงเหลือจากเพดานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 70% ของจีดีพี ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท หมายความว่า รัฐบาลจะก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีกได้ไม่เกิน 1.5 ล้านล้านบาท หากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าหมายมีโอกาสที่หนี้สาธารณะจะทะลุ 70% ของจีดีพี

ดังนั้น หากต้องการเดินหน้านโยบายประชานิยม ขอให้ระวังปัญหาวิกฤติหนี้สิน

ฉบับเต็ม! ปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยกเลิกถ้วนหน้า ?

เช็กเสียง สว.โหวต “เศรษฐา” นั่งนายก ยังไม่นิ่ง คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

ขณะที่ นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า นโยบายแจกเงินผ่าน Digital Wallet มีแนวคิดที่น่าสนใจ เนื่องจากตอนนี้การแก้ปัญหาค่าครองชีพเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง ที่มีรายได้น้อย ในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่จากโควิด-19 การใช้เงินดิจิทัลเข้ามาอัดฉีด 10,000 บาทต่อคน โดยมีระบบบล็อกเชนเข้ามาช่วยควบคุมประเภทของรายจ่าย เพื่อให้มีเงินไปหมุนเวียนเศรษฐกิจนั้นน่าสนใจ แต่การใช้งบประมาณหลายแสนล้าน เพื่อแจกเงินให้ทุกคน คือสิ่งที่น่ากังวล ควรพิจารณาให้คนที่เดือดร้อนจริงๆ

ส่วนในแง่ของการก่อหนี้สาธารณะนั้น นายอิศเรศ มองว่าหากเป็นการกู้เงินเพื่อโครงการที่ช่วยให้เศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ ก็ไม่น่ากังวล เพราะหนี้สาธารณะเกิดจากหลายปัจจัย แต่รัฐบาลควรลดในโครงการอื่น ๆ ที่จำเป็นน้อยกว่า ลำดับความสำคัญให้เหมาะสม